วันพฤหัสบดีที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

Saint-Valentin

Le jour de la Saint-Valentin

Le jour de la Saint-Valentin, le 14 février, est considéré dans de nombreux pays comme
la fête des amoureux et de l'amitié. Les couples en profitent pour échanger des mots doux et des cadeaux comme preuves d’amour ainsi que des roses rouges qui sont l’emblème de la passion.
À l’origine une coutume païenne, cette fête a finalement été assimilée par l'Église catholique romaine par la désignation desaint Valentin comme saint patron des amoureux. Le jour de la Saint-Valentin n’aurait pas été associé avec l’amour romantique avant le haut Moyen Âge mais avec l'amour physique. La fête est maintenant associée plus étroitement à l’échange mutuel de « billets doux » ou de valentins illustrés de symboles tels qu’un cœur ou un Cupidon ailé.
À l’envoi de billets au xixe siècle a succédé l’échange de cartes de vœux. Cependant, en Amérique du Nord, les échanges de cartes ne se font pas selon la conception européenne où la carte de Saint-Valentin est envoyée à une personne « unique ». Il n'est pas rare qu'une personne y envoie une dizaine de cartes, et même que des élèves d'école primaire en envoient à leur maîtresse d'école.
En France, le dessinateur Raymond Peynet est l'auteur d'illustrations emblématiques des « couples d'amoureux » et Georges Brassens a chanté les « amoureux des bancs publics »
วันนักบุญวาเลนไทน์ หรือที่มักเรียกว่า น์ วันวาเลนไทตรงกับวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ของทุกปี วันวาเลนไทน์มีการเฉลิมฉลองในหลายประเทศทั่วโลก ส่วนใหญ่เป็นประเทศทางตะวันตก แม้จะยังเป็นวันทำงานในทุกประเทศเหล่านั้นก็ตาม
"วันนักบุญวาเลนไทน์" แต่เดิมเป็นเพียงวันฉลองนักบุญในศาสนาคริสต์ยุคแรกที่ชื่อ วาเลนตินุส (แต่นักบุญชื่อนี้มีหลายองค์) ความหมายโรแมนติกโดยนัยสมัยใหม่ล้วนถูกกวีเพิ่มเติมในอีกหลายศตวรรษต่อมาทั้งสิ้น วันวาเลนไทน์ถูกำหนดขึ้นครั้งแรกโดยสมเด็จพระสันตะปาปาเกลาซิอุสที่ 1 ใน ค.ศ. 496 ก่อนจะถูกลบออกจากปฏิทินนักบุญทั่วไปของโรมัน (General Roman Calendar of saints) ในปี ค.ศ. 1969 โดยสมเด็จพระสันตะปาปาปอลที่ 6 วันวาเลนไทน์มาข้องเกี่ยวกับรักแบบโรแมนติกเป็นครั้งแรกในแวดวงสังคมของเจฟฟรีย์ ชอเซอร์ ช่วงกลางสมัยกลาง (High Middle Ages) เมื่อประเพณีรักเทิดทูน (courtly love) เฟื่องฟู จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 15 วันวาเลนไทน์ได้วิวัฒนามาเป็นโอกาสซึ่งคู่รักจะแสดงความรักของพวกเขาแก่กันโดยให้ดอกไม้ ขนมหรือลูกกวาด และส่งการ์ดอวยพรกัน มรณสักขีในศาสนาคริสต์ยุคแรกหลายคนมีชื่อว่า วาเลนไทน์ ซึ่งวาเลนไทน์ที่มีการฉลองในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ คือ วาเลนไทน์แห่งโรม (Valentinus presb. m. Romae) และวาเลนไทน์แห่งเทอร์นี (Valentinus ep. Interamnensis m. Romae) วาเลนไทน์แห่งโรมเป็นนักบวชในโรมผู้พลีชีพเพื่อศาสนาราว ค.ศ. 269 และถูกฝังที่เวียฟลามีเนีย (Via Flaminia) กะโหลกที่สวมมาลัยดอกไม้ของนักบุญวาเลนไน์ถูกจัดแสดงในมหาวิหารซานตามาเรียในคอสเมดิน โรม เรลิกอื่นพบได้ในมหาวิหารซานตาพราสเซเด (Santa Prassede) ในโรมเช่นกัน เช่นเดียวกับที่โบสถ์คาร์เมไลท์ถนนไวท์ไฟร์อาร์ (Whitefriar Street Carmelite Church) ในดับลิน ไอร์แลนด์ วาเลนไทน์แห่งเทอร์นีกลายมาเป็นบิชอปแห่งอินเตรัมนา (Interamna, ปัจจุบัน คือ เทอร์นี) ราว ค.ศ. 197 และกล่าวกันว่าท่านได้พลีชีพในช่วงการเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชนในรัชสมัยจักรพรรดิออเรเลียน ท่านถูกฝังที่เวียฟลามีเดียเช่นกัน แต่คนละตำแหน่งกับที่ฝังวาเลนไทน์แห่งโรม เรลิกของท่านอยู่ที่มหาวิหารนักบญวาเลนไทน์แห่งเทอร์นี สารานุกรมคาทอลิกยังกล่าวถึงนักบุญคนที่สามที่ชื่อวาเลนไทน์ ผู้ซึ่งมีการกล่าวขานถึงในบัญชีมรณสักขียุคต้นในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ท่านพลีชีพเพื่อศาสนาในแอฟริการ่วมกับเพื่อนเดินทางจำนวนหนึ่ง แต่ไม่มีข้อมูลอื่นใดเกี่ยวกับท่านอีก ไม่มีส่วนใดที่โรแมนติกปรากฏในชีวประวัติยุคกลางตอนต้นแต่เดิมของมรณสักขีทั้งสามท่านนี้ ก่อนที่นักบุญวาเลนไทน์จะมาเชื่อมโยงกับเรื่องรักใคร่ในคริสต์ศตวรรษที่ 14 นี้ ระหว่างวาเลนไทน์แห่งโรมกับวาเลนไทน์แห่งเทอร์นีนั้นไม่มีความข้องเกี่ยวกันเลย ศีรษะของนักบุญวาเลนไทน์ถูกเก็บรักษาไว้ในแอบบีย์นิวมินสเตอร์ วินเชสเตอร์ และเป็นที่เคารพบูชา แต่ไม่มีหลักฐานว่านักบุญวาเลนไทน์จะเป็นนักบุญที่ได้รับความนิยมก่อนบทกวีของเชาเซอร์ในคริสต์ศตวรรษที่ 14 แม้แต่ในพื้นที่วินเชสเตอร์ การเฉลิมฉลองนักบุญวาเลนไทน์มิได้แตกต่างไปจากการเฉลิมฉลองนักบุญคนอื่นมาก และไม่มีโบสถ์ใดอุทิศถึงท่าน ในการตรวจชำระปฏิทินนักบุญโรมันคาทอลิก วันฉลองนักบุญวาเลนไทน์ซึ่งตรงกับวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ถูกตัดออกจากปฏิทินโรมันทั่วไปและลดขั้นไปอยู่ในปฏิทินเฉพาะ (particular calendar, ท้องถิ่นหรือประจำชาติ) ด้วยเหตุผล "แม้ความทรงจำเกี่ยวกับนักบุญวาเลนไทน์จะเก่าแก่ แต่ชื่อของท่านก็ถูกลดไปอยู่ในปฏิทินเฉพาะ เพราะนอกเหนือไปจากชื่อของท่านแล้ว ไม่มีข้อมูลอื่นใดทราบกันเกี่ยวกับนักบุญวาเลนไทน์ เว้นแต่ว่า ท่านถูกฝังที่เวียฟลามิเนียเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์"วันฉลองนี้ยังมีการเฉลิมฉลองอยู่ในบัลซาน (มอลตา) ที่ซึ่งมีการอ้างว่าพบเรลิกของนักบุญวาเลนไทน์ที่นั่น และมีการเฉลิมฉลองทั่วโลกโดยผู้นับถือนิกายคาทอลิกดั้งเดิมที่ถือตามปฏิทินที่เก่ากว่าก่อนหน้าของสภาสังคายนาวาติกันครั้งที่สองนี้ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ยังมีการเฉลิมฉลองเป็นวันวาเลนไทน์ในนิกายอื่นของศาสนาคริสต์ ตัวอย่างเช่น วันวาเลนไทน์มีระดับระดับ "พิธีฉลอง" (commemoration) ในปฏิทินของคริสตจักรแห่งอังกฤษ และส่วนอื่นของแองกลิคันคอมมิวเนียน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น